วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

สมบัติผู้ดี10ประการ


“สมบัติผู้ดี” จะแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ จำนวน 10 บท (ถ้าจำไม่ผิด) แต่ละบทจะมีข้อควรและไม่ควรปฏิบัติ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ “กายจริยา” “วจีจริยา” และ “มโนจริยา” ตามคุณสมบัติของการเป็น “ผู้ดี” อย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องมีความเหมาะสมทั้งกาย วาจา และใจ มิใช่ว่าเกิดมามีตระกูลสูง หรือร่ำรวยก็จะเป็น “ผู้ดี” ได้อย่างที่เข้าใจกันผิด ๆ ดังนั้น ไม่ว่าพวก “ผู้ดีเก่า” หรือ “ผู้ดีใหม่” หากไม่ปฏิบัติตนตาม “สมบัติผู้ดี” ก็มีสิทธิ์เป็น “ผู้ร้าย” ได้พอ ๆ กัน ขณะที่ลูกหลานชาวบ้านทั่วไปถ้าถึงพร้อมซึ่ง “กายจริยา” “วจีจริยา” และ “มโนจริยา” ตาม “สมบัติผู้ดี” แล้ว ก็ล้วนเป็น “ผู้ดี” ตัวจริงทั้งนั้น (แต่ก่อนนั้นถ้าใครถูกว่าว่า “ไม่มีสมบัติผู้ดี” ละก็ จะรู้สึกเจ็บอายเป็นอย่างยิ่ง ไม่เหมือนกับสมัยนี้ ต่อให้ใช้คำหยาบคายเพียงใดก็ไม่ค่อยรู้สึก เพราะความหนาของหน้าพัฒนาขึ้นมาตามพัฒนาการของเทคโนโลยี)


.....................................................


เเละ...คุณ“มะสะลุม”เขาให้ความเห็นใว้ด้วย คือ...
จะลองยกตัวอย่างภาษาเก่า ๆ ในสมบัติผู้ดีให้คุณฟัง บางข้ออาจฟังแล้วสะดุ้ง (ถ้าคิดแบบ “มะสะลุม”)
ผู้ดีย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง (คือให้รู้จักที่ต่ำที่สูง การอะไรควร อะไรไม่ควร)
ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก (คือไม่ใช้กิริยาดูถูก หมางเมิน มึนตึงกับผู้มาเยือน)
ผู้ดีย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่ง ที่ดูอันใด (คือไม่เห็นแก่ตัว ลุกลี้ลุกลนแย่งที่คนอื่นอย่างไร้มารยาท
ผู้ดีย่อมไม่ลอบแอบดูของลับ (อุ๊ย...ไม่ใช่แอบดูเฉพาะของอย่างที่คุณคิด แต่หมายรวมถึงสิ่งของทุกอย่างที่เป็นส่วนตัว เป็นความลับของคนอื่นเขา เช่น รูปภาพ จดหมาย หนังสือสำคัญ สัญญา ฯลฯ)
สมัยนี้เรามักจะอ้างแต่ว่า “ฉันมีสิทธิ์” “ฉันไม่ได้ทำผิดกฎหมาย” ขณะเดียวกันเรามักลืมเรื่องของ “กิริยามารยาท” และ “จริยธรรม” ไปเสียได้ง่าย ๆ แต่อย่าลืมว่าสังคมนั้นจะอยู่เป็นสุขได้ก็ด้วยคนที่มีจริยธรรม ลำพังแต่ “สิทธิ” และ “ผลประโยชน์” นั้น ตอบสนองได้แค่ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เท่านั้น ถ้ามีแต่คนไม่รู้จักกิริยามารยาทและจริยธรรมอยู่ในสังคมมาก ๆ เข้า อีกหน่อยบ้านเมืองก็ไม่ต่างอะไรกับฝูงสัตว์ที่กัดตีแย่งชิงอาหารและตัวเมีย กัน
หนังสืออย่าง “สมบัติผู้ดี” จะช่วยได้ก็ในส่วนนี้ “มะสะลุม” จึงฝันอยากให้มีผู้มีความรู้ความสามารถมาปรับปรุงหนังสือ “สมบัติผู้ดี” ขึ้นใหม่เป็นภาษาปัจจุบันที่เข้าใจง่าย แล้วใช้เป็นตำราทางจริยธรรมเช่นเดียวกับในอดีต กลัวแต่ว่าจะหาผู้ที่เป็นผู้ดีจริงมาเขียนได้หรือเปล่าเท่านั้น เพราะคุณลองดู ๆ สิว่า เดี๋ยวนี้ผู้ใหญ่ของเรามีสมบัติผู้ดีข้อเหล่านี้หรือไม่


ผู้ดีย่อมไม่ใช้ถ้อยคำมุสา
ผู้ดีย่อมไม่พูดสับปลับ กลับกลอก ตลบตะแลง
ผู้ดีย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรง
ผู้ดีย่อมไม่แสวงประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม
ผู้ดีย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่ง ลับหลังอย่างหนึ่ง
ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจของผู้อื่น
ผู้ดีย่อมไม่คิดทำร้ายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน
ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป


หรือผู้ดีใกล้จะสูญพันธุ์หมดแล้ว